ผู้ประกอบการทัวร์
(Tour Operator)
ผู้ประกอบการทัวร์ หมายถึง องค์กรหรือบริษัทที่ให้บริการในเรื่องการท่องเที่ยว โดยนำส่วนประกอบการเดินทาง (Travel Component) แล้วจัดทำโปรแกรม ส่งเสริมการขาย ทำการจองตลอดจนปฏิบัตการดูแลให้เกิดขึ้นจริงตรงตามโปรแกรม เช่น นำตั๋วเครื่องบิน ห้องพักโรงแรม อาหาร รถยนต์หรือรถโค๊ชหรือเรือ และ อื่นๆจาก Suppliers ต่างๆ มาประกอบเข้าด้วยกันเป็น “แพ็คเกจทัวร์” (Tour Package) หากจะเรียกว่า ผู้ประกอบการทัวร์ คือ ผู้ผลิตสินค้าทางการท่องเที่ยว Manufacturers of Tourism Products ก็ไม่ผิดไปจากความหมายสักเท่าใดนัก เมื่อ Tour Operator ผลิตสินค้าท่องเที่ยวแล้วก็จำหน่ายผ่านตัวกลาง (Travel Agents) หรือ ขายตรงให้กับนักท่องเที่ยว
ในต่างประเทศในหลายๆประเทศ Tour Operators แบ่งแยกเป็นแผนกต่างๆเหมือนเช่นโรงงาน นับตั้งแต่ ฝ่ายจัดซื้อ(Purchasing) ฝ่ายพัฒนาสินค้า(Product Development) ฝ่ายปฏิบัติการ(Operation) ฝ่ายตลาด(Marketing) เป็นต้น ทั้งนี้ขนาดของกิจการย่อมแตกต่างแยกย่อยกันออกไปตามเส้นทางและจุดหมายตอบสนองความต้องการของลูกค้าประเภทต่างๆในแต่ละตลาดที่องค์กรทำตลาดนั้นๆอยู่
เมื่อคนเอ่ยถึงบริษัททัวร์ส่วนมากมักจะเข้าใจเหมือนกันหมด แต่ความจริงแล้วแบ่งแยกออกเป็น 4 ประเภท ตามลักษณะของธุรกิจและการให้บริการ ดังนี้ คือ
-
Inbound Tour Operators ผู้ประกอบการทัวร์นำเข้าประเทศ
-
Outbound Tour Operators ผู้ประกอบการทัวร์นำเที่ยวต่างประเทศ
-
Domestic Tour Operators ผู้ประกอบการทัวร์นำเที่ยวภายในประเทศ
-
Ground Tour Operators ผู้ประกอบการทัวร์ภาคพื้นดิน
Inbound Tour Operators ผู้ประกอบการทัวร์นำเข้าประเทศ หรือ อาจเรียก Destination Management Company (DMC) เป็นผู้ประกอบการทัวร์ที่นำนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศนำเข้าเที่ยวในประเทศ โดยทำการตลาดนำนักท่องเที่ยวในต่างประเทศเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศ ซึ่งส่วนมากมักจะติดต่อบริษัทนำเที่ยวในต่างประเทศที่เป็นคู่ค้าให้ส่งนักท่องเที่ยวมาให้ หรือ อาจติดต่อนำเสนอกับนักท่องเที่ยวโดยตรงด้วยมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้นในแต่ละวัน มีเว็บไซต์หรือแพลตฟอร์มที่นำเสนอข้อมูลและสื่อสารได้สะดวกชัดเจนมากขึ้น เมื่อจัดหาจัดทำแพ็คเกจทัวร์แล้วบริษัททัวร์เหล่านี้จะให้บริการนำส่งสินค้าท่องเที่ยวตามรายการที่นำเสนอเมื่อนักท่องเที่ยวเดินทางมาถึง
Outbound Tour Operators ผู้ประกอบการทัวร์นำเที่ยวต่างประเทศ เป็นผู้ประกอบการทัวร์ที่นำนักท่องเที่ยวภายในประเทศออกไปเที่ยวต่างประเทศ โดยจัดทำแพ็คเกจส่งเสริมจุดหมายและเส้นทางท่องเที่ยวในต่างประเทศ ซึ่งจะรวมตั๋วเครื่องบินไว้ด้วย ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีสำรองที่นั่งนักท่องเที่ยวอาจจะเลือกไม่รวมตั๋วเครื่องบินก็ได้ เมื่อนักท่องเที่ยวเดินทางไปถึงจุดหมาย
Outbound Tour Operator (ผู้ประกอบการทัวร์นำเที่ยวต่างประเทศ) จะมอบหมายให้ Inbound Tour Operators หรือ Ground
Operators ในประเทศนั้นๆรับผิดชอบดูแลให้บริการตามแพ็คเกจที่ได้นำเสนอไว้
Domestic Tour Operators ผู้ประกอบการทัวร์ภายในประเทศ เป็นผู้นำส่วนประกอบการเดินทางท่องเที่ยวจัดทำเป็นแพคเกจและโปรแกรมทัวร์นำเสนอและให้บริการกับนักท่องเที่ยวที่อยู่ในประเทศนั้นๆ จุดหมายปลายทางที่อยู่ในโปรแกรมท่องเที่ยวจะอยู่ในพื้นที่ของประเทศนั้นๆเท่านั้น
Ground Tour Operators ผู้ประกอบการทัวร์ภาคพื้นดิน เป็น ผู้ประกอบการทัวร์ในพื้นที่ที่เป็นหน่วยงานหลักในการจัดการ (Handling Agencies) ดูแลนักท่องเที่ยวใกล้ชิด ด้วยมีความชำนาญ เข้าใจในวิถีชีวิต วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศของท้องถิ่นที่ผู้ประกอบการทัวร์ตั้งอยู่ การประกอบการเหล่านี้จึงให้บริการที่เป็นแบบทัวร์ทัศนศึกษา (Tour Excursion) เพราะสามารถให้รายละเอียดท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี
ผู้ประกอบการทัวร์ภาคพื้นดิน นับว่ามีความสำคัญมาก เพราะไม่ว่าจะเป็น Inbound Tour Operators, Outbound Tour Operators หรือ Domestic Tour Operators มีข้อจำกัดหลายประการ อาทิเช่น ไม่มีสาขาของตนเอง ไม่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับหน่วยงานรัฐท้องถิ่น หรือ ซัพพลายเออร์ในท้องถิ่น การเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ แหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆเกิดขึ้น กฎระเบียบของหน่วยงานท้องถิ่น ภาษาที่ใช้สื่อสาร จึงจำเป็นต้องแต่งตั้งผู้ประกอบการทัวร์ภาคพื้นดินในแต่ละแห่งรับผิดชอบดูแลนักท่องเที่ยวในนามของตนเอง การพิจารณาคุณภาพ การพิจารณาประสิทธิภาพของผู้ประกอบการทัวร์ภาคพื้นดินถึงความสามารถในการรองรับจึงเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นขนาดของกิจการ ระบบงาน ความรู้ความสามารถของพนักงานเจ้าหน้าที่ ความเป็นมืออาชีพ ความซื่อสัตย์ต่อลูกค้า รวมไปถึงการคิดราคาอันเป็นต้นทุนของแพคเกจทัวร์
หน้าที่และความรับผิดชอบของ Tour Operators
อย่างไรก็ตาม Tour Operators ทุกประเภทต่างมีหน้าที่ความรับผิดชอบในเรื่องหลักๆที่เหมือนกัน ได้แก่
-
การวางแผน พยายามมอบทางเลือกที่ดีที่สุดให้กับนักท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นการพักผ่อน(Leisure) หรือ ทัศนศึกษาดูงาน กลุ่มเชิงพาณิชย์ ให้รางวัลเพื่อเป็นแรงจูงใจ (MICE – Meeting, Incentive, Convention & Exhibition) โดยพิจารณานับตั้งแต่เส้นทางท่องเที่ยว จุดเริ่มต้น ถึง ปลายทาง และ จุดแวะต่างๆที่น่าสนใจ รวมถึง สภาพภูมิอากาศ ยานพาหนะเดินทาง ตลอดจนที่พักและอาหาร ทำการประเมินตัวเลือกที่มีอยู่ คำนึงถึงความสะดวกและน่าพึงพอใจตรงกับรสนิยมของนักท่องเที่ยวให้มากที่สุด โดยยึดหลักการที่ว่า มอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับนักท่องเที่ยว
-
การทำแพคเกจทัวร์ ทำการเจรจาต่อรองกับซัพพลายเออร์ของส่วนประกอบการเดินทางต่างๆ แล้วบรรจุลงในแพคเกจทัวร์ ได้แก่ โรงแรม ยานพาหนะขนส่ง อาหาร ค่าเข้าชม มัคคุเทศก์ ค่าประกันภัย ค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดต่างๆ และอาจรวมถึง เที่ยวบิน คิดคำนวณค่าใช้จ่ายเพื่อให้ได้ราคาที่ดีที่สุดเสนอให้นักท่องเที่ยว
-
ข้อมูลการเดินทาง เป็นส่วนสำคัญที่นักท่องเที่ยวจะต้องได้รับรู้และเตรียมการ ข้อมูลจะต้องเป็นข้อมูลที่เป็นปัจจุบันถูกต้องตรงตามวันและเวลาที่นักท่องเที่ยวจะเดินทาง อาทิเช่น กฎระเบียบอนามัยความปลอดภัยที่หน่วยงานในพื้นที่นั้นกำหนด การแต่งกาย วัฒนธรรมที่พึงปฏิบัติเป็นการเคารพให้เกียรติกับชุมชนนั้นๆ เวลาปิดเปิดทำการ เป็นต้น
-
การจอง เป็นหน้าที่ที่สำคัญของผู้ประกอบการทัวร์ที่จะต้องทำการจองส่วนประกอบของทัวร์ทั้งหมดเป็นการล่วงหน้า โดยมีการเชื่อมโยงสัมพันธ์ลงตัวในเรื่องการขนส่ง ที่พัก อาหาร แหล่งท่องเที่ยว ที่ระบุไว้ในเส้นทางท่องเที่ยว และ ตรงกับความต้องการหรือ ข้อจำกัดของนักท่องเที่ยวบางคนที่อยู่ในคณะ เช่น ข้อจำกัดทางร่างกาย อาหารรับทานได้บางชนิด เป็นต้น
-
การจัดการ เมื่อนักท่องเที่ยวเริ่มต้นการเดินทาง มีเจ้าหน้าที่ติดต่อได้สะดวก หรือ มัคคุเทศก์ในกรณีเป็นหมู่คณะ มีความสามารถทางภาษาเพื่อดูแลประสานงานให้ข้อมูล ตรวจสอบให้แน่ใจว่าทุกส่วนประกอบท่องเที่ยวได้รับการดูแลเป็นอย่างดี
-
การดูแลความผิดพลาด แม้ว่าจะมีการวางแผน หรือ ทำการจองแล้วก็ตาม แต่เหตุการณ์จริงอาจมีข้อผิดพลาดด้วยปัจจัยอื่นๆที่คาดไม่ถึงได้ เช่น ปัญหาทางการเมือง การถูกยกเลิกเที่ยวบินกระทันหัน ปัญหาสุขภาพ ของสูญหาย อุบัติเหตุ ฯลฯ ผู้ประกอบการทัวร์ต้องดูแลข้อบกพร่องและปัญหาทั้งหมดที่เกิดขึ้น และ แก้ไขจัดหาทางเลือกที่ดีที่สุดให้กับนักท่องเที่ยว
ความแตกต่างระหว่าง Tour Operators กับ Travel Agents
จากที่ได้กล่าวมาแล้วในเบื้องต้นว่า Tour Operators คือผู้ประกอบการทัวร์ที่นำส่วนประกอบ (Travel Component) หรือ ส่วนผสมทัวร์ (Tour Ingredient) มาปรุงแต่งเป็นแพคเกจทัวร์ (Package Tour) ทำการตลาด รับจอง ตลอดจนปฏิบัติการทัวร์ แต่สำหรับ Travel Agents นั้นเป็นเพียงตัวแทนจำหน่ายสินค้าท่องเที่ยว ทำการขายและจองส่งให้กับ Tour Operators ไม่มีสินค้าท่องเที่ยวของตนเอง เช่น ตัวแทนจะหน่ายบัตรโดยสารเครื่องบิน ตัวแทนจำหน่ายตั๋วเรือ ตัวแทนจำหน่ายห้องพัก หรือ ตัวแทนจำหน่ายแพคเกจทัวร์ เป็นต้น ถ้าจะเปรียบเทียบกับการจำหน่ายสินค้าทั่วไป Tour Operators คือโรงงานประกอบสินค้าและขายส่ง (Manufacturer & Wholesaler) ส่วน Travel Agent คือร้านค้าขายปลีก (Retailer) นั่นเอง ซึ่งคนมักจะสับสนว่าเป็นบริษัททัวร์เหมือนกัน
2 ทศวรรษแห่งการเปลี่ยนแปลง (ค.ศ. 2000 – 2020)
ราวปีค.ศ. 2002 ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศระบบเครือข่ายอินเตอร์เนตที่พัฒนาก้าวหน้าอย่างมาก สายการบินต้นทุนต่ำ (LCC – Low Cost Carrier) เริ่มใช้ระบบสำรองที่นั่งผ่านอินเตอร์เนตทำให้ผู้เดินทางสามารถทำการจองที่นั่งได้เองในราคาที่ต่ำกว่าสายการบิน (FCC – Full Service Carrier) ส่งผลต่อการเติบโตทางการท่องเที่ยวอย่างก้าวกระโดด ในเวลาไล่เลี่ยกันนั้น OTA (Online Travel Agent) มีแพลตฟอร์มสำรองที่พักออนไลน์เกิดขึ้น
ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อ Travel Agent ที่ยังใช้ระบบออฟไลน์ มีการปิดตัวเลิกกิจการ หรือ เปลี่ยนแปลงการให้บริการที่มีความหลากหลายมากขึ้น การเป็น Tour Operator จึงได้รับการตอบรับมากขึ้น แม้นักท่องเที่ยวสามารถจองสายการบิน โรงแรม ได้เองผ่านระบบออนไลน์แล้วก็ตาม แต่ทัวร์หรือแพคเกจทัวร์ยังไม่มีแพลตฟอร์มใดที่เสนอสู่ตลาดในทศวรรษแรกของการเปลี่ยนแปลง
จนกระทั่งทศวรรษที่สองแพลตฟอร์มสำหรับจอง Day Tour เริ่มปรากฎและขยายสู่ตลาดมากขึ้น ตลาด F.I.T. กลุ่มไม่ขัดข้องกับการ join tour เริ่มให้ความนิยม (F.I.T. - Foreign Individual Traveler ระยะต้นๆวงการท่องเที่ยวใช้ในความหมายนี้เพื่อแยกออกจาก G.I.T. - Group Incentive Tour แต่ปัจจุบันมักใช้ในความหมาย Free Independent Travelers มากขึ้น)
ปลายทศวรรษที่สอง 2015-2018 มีธุรกิจท่องเที่ยวขนาดกลางและเล็กหายไปกว่า 30% ครั้นเกิดสถานะการณ์โควิด19 ในปี 2020 คาดว่าจะหายไปกว่า 50% คาดการณ์ว่าทศวรรษหน้าเป็นต้นไปการพัฒนาเทคโนโลยียังเป็นไปอย่างต่อเนื่องและทวีความเข้มข้นมากขึ้น การท่องเที่ยวที่จองผ่านออนไลน์และมีความซับซ้อนมากขึ้นไปอีก ผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวจะมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงเพื่อตอบสนองนักท่องเที่ยว ดังนั้น Tour Operator และ Travel Agent กับการใช้ซอฟท์แวร์ในการบริหารจัดการ และ แพลตฟอร์มการจองออนไลน์จะเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงและจะถูกนำมาใช้เป็นปกตินิสัย
Tour Management Software
ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของ Tour Management Software ที่เริ่มพัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 2006 (พ.ศ.2549) ซึ่งจะเป็น Software ในการบริหารจัดการทัวร์ ใน Concept ที่เรียกว่า All in One นั่นคือ มีทั้ง Front Office, Mid Office และ Back Office กล่าวคือ สามารถใช้งานนับตั้งแต่ทำ Quotation เสนอให้ลูกค้า ต่อด้วยการส่ง Invoice เรียกเก็บเงิน เมื่อได้รับเงินแล้ว จึงทำ Operation เมื่องานเสร็จ ข้อมูลส่งต่อให้แผนกบัญชีเพื่อ post to journal ระบบจะไปลงบัญชีแยกประเภทตามที่ set ค่าไว้ จากนั้นจะสามารถเรียกรายงานงบดุลและงบกำไรขาดทุนออกมาได้เลย
Front Office & Mid Office
เมื่อได้รับ Inquiry นำบันทึกลงในระบบแล้วทำ Quotation ดึงข้อมูล Product นำเสนอลูกค้า เมื่อลูกค้ายืนยันมีคำสั่งซื้อ ทำการจอง Reservation ส่ง Invoice และเมื่อได้รับชำระเงิน จัดทำ Operation ส่ง Voucher ให้ลูกค้า Customer และห่วงโซ่ธุรกิจ Supply Chain ที่เกี่ยวข้อง
Back Office – Finance
ทำเอกสารการรับเงิน และ จ่ายเงิน ในรูปแบบเงินสด หรือ เครดิตการ์ด นำเข้าบัญชีธนาคาร และ ออกเครดิตโน๊ต และ เดบิทโน๊ต บันทึกรายการลงในหมวดบัญชีที่ตั้งค่าไว้แล้ว
Back Office – Accounting
แผนกบัญชีบันทึกรายการลงในสมุดรายวันเข้าสู่บัญชีแยกประเภท เพื่อสรุปทำงบทดลองออกรายงานงบกำไรขาดทุน และ งบดุล
ระยะแรก (2008 – 2014) Software ดังกล่าวยังใช้เพื่อการจัดการภายใน ด้วยกระแส Technology Disruption ราวปี ค.ศ. 2012 เป็นต้นมา กระแส Booking Online ทั้งสายการบินและโรงแรมเติบโตอย่างก้าวกระโดด นักท่องเที่ยวเริ่มให้ความนิยมที่จะจองสายการบินและโรงแรมด้วยตนเองมากขึ้น ต่อมาราวปีค.ศ. 2015 Tour Booking Online เริ่มได้รับความนิยมในกลุ่มนักท่องเที่ยว F.I.T. ชาวยุโรป จึงต้องพัฒนาต่อเนื่องจากระบบที่มีอยู่เดิม อย่างไรก็ตามด้วยการที่มีฐานข้อมูล (Data Base) อยู่แล้ว จึงไม่ยากเกินไปนักที่จะนำมาขึ้นเว็บไซต์ให้ลูกค้าเข้าสู่ระบบการจอง จึงเกิด B2B Booking Online (ปี 2015) และ B2C Booking Online (ปี 2020) ขึ้น
ระยะแรก (2008 – 2014) Software ดังกล่าวยังใช้เพื่อการจัดการภายใน ด้วยกระแส Technology Disruption ราวปี ค.ศ. 2012 เป็นต้นมา กระแส Booking Online ทั้งสายการบินและโรงแรมเติบโตอย่างก้าวกระโดด นักท่องเที่ยวเริ่มให้ความนิยมที่จะจองสายการบินและโรงแรมด้วยตนเองมากขึ้น ต่อมาราวปีค.ศ. 2015 Tour Booking Online เริ่มได้รับความนิยมในกลุ่มนักท่องเที่ยว F.I.T. ชาวยุโรป จึงต้องพัฒนาต่อเนื่องจากระบบที่มีอยู่เดิม อย่างไรก็ตามด้วยการที่มีฐานข้อมูล (Data Base) อยู่แล้ว จึงไม่ยากเกินไปนักที่จะนำมาขึ้นเว็บไซต์ให้ลูกค้าเข้าสู่ระบบการจอง จึงเกิด B2B Booking Online (ปี 2015) และ B2C Booking Online (ปี 2020) ขึ้น
วีดิโอประกอบ
-
B2B Booking Online – Tour
-
B2B Booking Online – Tour Package
-
B2B Booking Online - Golf
-
B2B Booking Online - Vehicle
-
B2B Booking Online – Boat
-
B2B Booking Online – Hotel
-
B2C Booking Online